กฎหมายที่ดินเรื่องการแย่งที่ดินมือเปล่า กุมภาพันธ์ 18, 2013
Posted by mado in : กฏหมายประเทศไทย, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายที่ดิน , comments closedกฎหมายที่ดินเรื่องการแย่งที่ดินมือเปล่า
- ที่ดินมือเปล่า คือ ที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ ซึ่งภาษาชาวบ้านก็เรียกว่า “โฉนดที่ดิน” นั้นเอง ซึ่งที่ดินมือเปล่านี้ ยังได้รวมไปถึงที่ดินที่มีหนังสือ น.ส.3 ที่ดินที่เป็น ส.ค.1 ที่ดินที่มีใบ ภบท.5 (ใบเสร็จการเสียภาษีให้ท้องถิ่น) อย่างนี้กฎหมายเขาก็เหมาเรียกเอาว่า ที่ดินมือเปล่า ด้วยเช่นกันนะครับ อย่าได้สงสัย
- ที่ดินที่มีโฉนดนั้น คนที่มีชื่อระบุเอาไว้ในโฉนด กฎหมายบอกว่า คนๆนั้นเป็นเจ้าของที่ดินเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้น สามารถจะใช้ประโยชน์จะขาย จ่าย โอนไปให้กับใครอย่างไรก็ได้ครับ
- ส่วนที่ดินมือเปล่านะหรือ ตรงนี้ก็ต่างออกไปครับ เพราะที่ดินมือเปล่านี้เป็นที่ดินที่ยังไม่สามารถจะมีเจ้าของได้ จะมีได้ก็แต่เพียง ผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเท่านั้น ซึ่งกฎหมายก็เรียกอย่างเท่ๆว่า “สิทธิครอบครอง” ตรงนี้ก็ให้เข้าใจไว้เท่านั้นนะครับ เพราะแม้ว่ากฎหมายจะว่าไว้อย่างไร ชาวบ้านอย่างเราๆ ก็เรียกรวมทุกอย่างว่าเป็นเจ้าของที่ดินนั่นแหละครับ
- เมื่อที่ดินมือเปล่าไม่มีโฉนด ก็หมายความว่า ไม่สามารถแย่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินได้ ดังนั้นหากจะแย่งที่ดินมือเปล่ากัน จะพอมีทางเป็นไปได้ไหม กฎหมายได้เปิดช่องเอาไว้หรือไม่ เรามาดูกันครับ
กฎหมายที่ดินเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดิน กุมภาพันธ์ 18, 2013
Posted by mado in : กฏหมายประเทศไทย, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายที่ดิน , comments closedกฎหมายที่ดินเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดิน
บางคน มีที่ดินเยอะมาก แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า ไม่เคยเข้าไปดูแลที่ดินเลยเป็นสิบๆปี ซ้ำร้ายกว่านั้น บางคนกว้านซื้อที่ดินเอาไว้เก็งกำไรเท่านั้น โดยที่คนซื้อเองก็ไม่รู้ว่าหรอกว่าที่ดินของตัวเองอยู่ที่ไหนบ้าง พอวันดีคืนร้ายอยากไปดูที่ดินของตัวเองตามที่อยู่ที่ปรากฎในโฉนด แต่พอไปถึง อ้าว…มีคนมาอาศัยอยู่เสียแล้ว พอเข้าไปถาม คนที่อยู่อาศัยในที่ดินก็บอกว่า เขาได้เข้ามาอยู่อาศัยเป็นเวลากว่า 20 กว่าปีแล้ว กรณีอย่างนี้เจ้าของที่ดินจะทำอย่างไรและคนที่เข้ามาอยู่อาศัยมีสิทธิในที่ดินบ้างหรือไม่ เรามาดูรายละเอียดกัน
การครอบครองปรปักษ์ที่ดิน คือ การแย่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีเจ้าของ โดยการเข้าไปครอบครองที่ดินที่มีโฉนดของคนอื่นโดยสงบและเปิดเผย ด้วยการแสดงตัวว่าตัวเองนั้นเป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้น และได้ครอบครองทำประโยชน์ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบ 10 ปี แล้ว คนครอบครองก็จะเป็น (เพิ่มเติม…)
กฎหมายที่ดินเรื่องที่ดินตาบอดจะเข้าออกได้ยังไง กุมภาพันธ์ 18, 2013
Posted by mado in : กฏหมายประเทศไทย, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายที่ดิน , comments closedกฎหมายที่ดินเรื่องที่ดินตาบอดจะเข้าออกได้ยังไง
ที่ดินตาบอด เป็นชื่อเรียกตามภาษาชาวบ้านทั่วไป ที่หมายถึงที่ดินที่ไม่มีทางออกสู่ทางหลัก หรือทางสาธารณะ ที่ดินตาบอดนี้เป็นที่ดินที่มักจะสร้างปัญหาให้กับคนที่เป็นเจ้าของที่ดินแปลงนั้นเสมอๆ เพราะว่าการที่ไม่มีทางเข้าออกนั้น มันทำให้เจ้าของที่ดินเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของตัวเองได้อย่างเต็มที่ หรือบางที่ก็อาจจะไม่สามารถทำประโยชน์ในที่ดินได้เลย สาเหตุก็เพราะว่า เมื่อไม่มีทางเข้าออกในที่ดินของตัวเองแล้ว มันก็ต้องอาศัยตัดผ่านเข้าไปยังที่ดินของคนอื่นเขา ซึ่งตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา คือ เจ้าของที่ดินที่ถูกผ่านไม่ค่อยจะยินดีจะให้ใครมาผ่านเขาออกซักเท่าไหร่ บางครั้งก็อาจถึงขั้นลงไม้ลงมือฆ่ากันตายเลยก็มีอยู่บ่อยๆ ก็ระวังๆกันไว้ด้วยนะครับ
ปกติที่ดินทุกแปลงจะมีการทำทางเข้าทางออกอยู่ด้วยเสมอ และหากรายใดไม่มีทางเข้าออกจริงๆ ก็มักจะมีการพูดคุยกับที่ดินแปลงข้างเคียง เพื่อขอเปิดทางเข้าออกไปสู่ถนนหลักได้ ซึ่งสมัยก่อนการพูดคุยกันไม่ใช่ยาก เพราะว่าในสมัยนั้นมันต้องพึ่งพาอาศัยกันในฐานะเพื่อนบ้าน แต่พอมาถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งอะไรๆ มันก็เปลี่ยนไป ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ที่ตัวเองจะได้รับ หากไม่มีข้อเสนอที่ดี ก็อย่าหวังมาคุยกันให้เปลืองน้ำลายเลย มันก็เป็นเสียอย่างงั้นไป
ปัญหาที่ดินตาบอดปัจจุบันที่พบ มักจะเกิดจากการแบ่งที่ดินจากแปลงใหญ่ มาซอยย่อยออกมาเป็นแปลงเล็กๆ เพื่อแบ่งระหว่างพี่น้อง หรือกรณีที่เป็นการขอใช้ทางที่ดินของคนอื่น แล้วต่อมาภายหลังลูกหลานเขาไม่อยากให้ใช้เป็นทางเข้าออก ก็มาปิดเสียอย่างนี้เป็นต้น ดังนั้นเมื่อใครมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินตาบอดที่ใกล้เคียงกับที่เล่ามานี้ ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจ หรือมานั่งร้องห่มร้องไห้ให้เสียสุขภาพจิตไปนะครับ เพราะเรื่องเหล่านี้มันมีทางแก้อยู่แล้วครับท่าน
หากกรณีที่ที่ดินตาบอดไม่มีทางออก เพราะว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ หรือว่ามีทางออกแต่ว่าทางเข้าออกนั้นเข้าออกได้ลำบาก เพราะว่าต้องข้ามสระ ข้ามบึง ข้ามทะเล หรือว่ามันเป็นทางชัน ซึ่งทำให้การเข้าออกนั้นลำบากมากๆๆ อย่างนี้กฎหมายก็บอกว่า เจ้าของที่ดินนั้นมีสิทธิที่จะขอ (เพิ่มเติม…)